โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล(digitalsignals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่ง เมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่น
โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้
1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K
2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล
ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ
3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร
โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์ (printer) ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้
4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก
โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems)
6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้
โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการ รับ – ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย
เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่น
1. พบปะพูดคุย 2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน
3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต
4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้
5. ดาวน์โหลดข้อมูล, รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
6. ส่ง - รับโทรสาร
7. ตอบรับโทรศัพท์
การเลือกซื้อโมเด็ม
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น
1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
5. การบีบอัดข้อมูล
6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
7. รับ - ส่งโทรสารได้
8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น
1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ
2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ
3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ
4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน
5. การบีบอัดข้อมูล
6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด
7. รับ - ส่งโทรสารได้
8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม
การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่
1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
2. พอร์ทอนุกรม (serial port)
3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการไหล ของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม
4. Serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
(ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา)
5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot
โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์รับ หรือ ส่งข้อมูล แฟ็กซ์ ผ่านสายโทรศัพท์ได้ การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่
1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
2. พอร์ทอนุกรม (serial port)
3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการไหล ของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม
4. Serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์
(ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา)
5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot
โมเด็มย่อมาจากคำสองคำ คำว่า MO ย่อมาจาก MOdulation เป็นการแปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางให้กลายเป็นสัญาณอนาลอกแล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ DEM ย่อมาจาก DEModulation เป็นการเปลี่ยนจากสัญญาณอนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง
สัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ Digital มีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญาณอนาลอกอยู่ ในรูปที่คล้ายกับสัญญาณไฟฟ้า ของโทรศัพท์ จึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ สำหรับความไวของ โมเด็มที่ความไว 28.8 Kb. และ 33.6 Kb. นี่ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้เพราะมีมาตรฐาน เดียวกัน แต่โมเด็ม ความไวขนาด 28.8 Kb. ตอนนี้ไม่ค่อยมีใครใช้แล้ว สำหรับความไวที่ 33.6 Kb. นั้นยังผลิต และจำหน่ายเนื่องจากยังมีผู้ใช้กันอยู่ Kb สำหรับปัจจุบันนี้ความไวของโมเด็มจะสูงขึ้นที่ 56 Kb. ตอนแรกมีมาตรฐานออกมา 2 อย่างคือ X2 และ K56Flex ออกมาเพื่อแย่งชิงมาตรฐานกัน ทำให้สับสน ในการใช้งาน ต่อมามาตรฐานสากล ได้กำหนดออกมาเป็น V.90 เป็นการยุติความไม่แน่นอน ของการใช้งาน โมเด็มบางตัวสามารถ อัพเดทเป็น V.90 ได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ ตอนซื้อควรกำหนด ให้เป็นมาตรฐาน V.90 เลย จะได้ไม่มีปัญหา สำหรับโมเด็มปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการรับส่ง Fax ด้วย ความไวในการส่ง Fax จะอยู่ที่ 14.4 Kb. เท่านั้น หากดูตามรูปร่างการใช้งานก็จะแบ่งออกได้เป็น 3 อย่างคือ
1. โมเด็มภายใน (Internal Modem)
1. โมเด็มภายใน (Internal Modem)
เป็นอุปกรณ์ที่แยกออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ทางพอร์ตอนุกรมด้วยสายเคเบิล โมเด็มภายนอกมีข้อดีเคลื่อนย้ายได้ง่าย เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือ PCI
ข้อดีคือ
1. ไม่เปลืองเนื้อที่ ไม่เกะกะ
2. ราคาถูก
3. ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงต่างหาก เปิดเครื่องใช้งานได้ทันที เนื่องจากติดตั้งอยู่ในเครื่องแล้ว
4. ไม่มีปัญหากับเครื่องคอมรุ่นเก่าที่มีชิพ UART ที่มีความไวต่ำ เพราะการทำงานไม่ผ่าน serial port
5. ส่งถ่ายข้อมูลได้สูงกว่าแบบที่อยู่ภายนอก
ข้อเสียคือ
1. ติดตั้งยากกว่า แบบภายนอก
2. เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อน ในเครื่อง
3. เสียสล็อตของเครื่องไปหนึ่งสล็อต
4. เคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องอื่นได้ยาก
5. ติดตั้งได้เฉพาะเครื่องคอมแบบ PC เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้
2. โมเด็มภายนอก (External Modem)
โมเด็มภายใน เป็นการ์ดที่ใช้เสียบกับแผ่นวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ โมเด็มภายในช่วยประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน และราคาถูกกว่าโมเด็มภายนอก
เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกโดยจะต่อกับ Serial Port อาจจะเป็นที่ Com1 หรือ Com2 บางครั้งนาน ๆ เจอก็ติดที่ Pararel port ก็มีบ้าง (ยังไม่เคยเจอเลย) ข้อดีคือ
1. สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ง่าย
2. ติดตั้งได้ง่ายกว่า
3. ไม่เพิ่มความร้อนให้ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก
4. สามารถใช้ งานกับเครื่อง NoteBook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port หรือ Parallel Port มีไฟแสดง สภาวะการทำงานของโมเด็ม ข้อเสีย
1. มีราคาแพง
2. เกะกะ
3. เกิดปัญหาจากสายต่อได้ง่าย
4. เสียพอร์ต Serial หรือ Parallel Port ไปหนึ่งอัน
5. หากใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าจะทำให้ได้ความไวต่ำเนื่องจากชิพ UART ของเครื่องรุ่นเก่ามีความไวต่ำ
ข้อดีคือ
1. ไม่เปลืองเนื้อที่ ไม่เกะกะ
2. ราคาถูก
3. ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงต่างหาก เปิดเครื่องใช้งานได้ทันที เนื่องจากติดตั้งอยู่ในเครื่องแล้ว
4. ไม่มีปัญหากับเครื่องคอมรุ่นเก่าที่มีชิพ UART ที่มีความไวต่ำ เพราะการทำงานไม่ผ่าน serial port
5. ส่งถ่ายข้อมูลได้สูงกว่าแบบที่อยู่ภายนอก
ข้อเสียคือ
1. ติดตั้งยากกว่า แบบภายนอก
2. เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อน ในเครื่อง
3. เสียสล็อตของเครื่องไปหนึ่งสล็อต
4. เคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องอื่นได้ยาก
5. ติดตั้งได้เฉพาะเครื่องคอมแบบ PC เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้
2. โมเด็มภายนอก (External Modem)
โมเด็มภายใน เป็นการ์ดที่ใช้เสียบกับแผ่นวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ โมเด็มภายในช่วยประหยัดพื้นที่ในการใช้งาน และราคาถูกกว่าโมเด็มภายนอก
เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกโดยจะต่อกับ Serial Port อาจจะเป็นที่ Com1 หรือ Com2 บางครั้งนาน ๆ เจอก็ติดที่ Pararel port ก็มีบ้าง (ยังไม่เคยเจอเลย) ข้อดีคือ
1. สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ง่าย
2. ติดตั้งได้ง่ายกว่า
3. ไม่เพิ่มความร้อนให้ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก
4. สามารถใช้ งานกับเครื่อง NoteBook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port หรือ Parallel Port มีไฟแสดง สภาวะการทำงานของโมเด็ม ข้อเสีย
1. มีราคาแพง
2. เกะกะ
3. เกิดปัญหาจากสายต่อได้ง่าย
4. เสียพอร์ต Serial หรือ Parallel Port ไปหนึ่งอัน
5. หากใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าจะทำให้ได้ความไวต่ำเนื่องจากชิพ UART ของเครื่องรุ่นเก่ามีความไวต่ำ
3. โมเด็มไร้สาย
โมเด็มไร้สาย มีลักษณะคล้ายโมเด็มภายนอกโดยโมเด็มภายนอกจะเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ทาง serial port โดยใช้สายโทรศัพท์ ในขณะที่โมเด็มไร้สายจะไม่ใช้สายโทรศัพท์เพื่อเชื่อมต่อ แต่จะสื่อสารโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อ
ส่วนประกอบของโมเด็ม |
โครงสร้างของโมเด็มโดยพื้นฐานแล้วสามารถแบ่งส่วนประกอบออกเป็น 5 ส่วนด้วยกัน คือ รูปแสดงวงจรของโมเด็ม • Transmitter ทำหน้าที่เข้ารหัสสัญญาณ แปลงสัญญาณจากรูปแบบดิจิทัลไปเป็น ( ภาคส่งข้อมูล ) อนาล็อก ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งข้อมูลออกจากโมเด็มไปยังสายโทรศัพท์ • Receiver จะมีขั้นตอนการทำงานตรงกันข้ามกับ Transmitter โดยจะทำหน้าที่ใน (ภาครับข้อมูล) การแปลงสัญญาณเสียงจากสายโทรศัพท์ให้กลับไปอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแปลความหมายได้ • Power Supply แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงให้กับวงจรภายในโมเด็ม อาจมีหลายรูปแบบด้วยกัน ได้แก่ • โมเด็มที่ใช้ไฟบ้านโดยมีปลั๊กเสียบจากภายนอกแยกต่างหาก มักพบในโมเด็มแบบ External ที่ใช้ Serial Port • โมเด็มที่ใช้ไฟเลี้ยงโดยตรงจากเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โมเด็มแบบ Internal และโมเด็มแบบ External ที่ใช้พอร์ต USB • Connector ในส่วนด้านหลังของตัวการ์ดไม่ว่าจะเป็นแบบติดตั้งภายนอกหรือภายในจะมีช่องสำหรับต่อกับสายโทรศัพท์ โดยต่อมาจากสายโทรศัพท์หลักที่ต่อเข้ามายังตัวบ้านซึ่งมักถูเรียกว่า “Line1” และช่องที่ต่อเข้ากับเครื่องโทรศัพท์บ้านที่เรียกว่า “Phone” • Interface การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งโมเด็มแต่ละแบบก็อาจะมีระบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น ระบบบัส PCI, ISA หรือ CNR |
ที่มา
http://support.mof.go.th/Modem.htm
http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/modem.htm
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=211e43fc08e05ff0&pli=1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น